การกุศล ของ ไมเคิล บลูมเบอร์ก

สิ่งแวดล้อม

บลูมเบอร์กเป็นนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมตัวยง และได้สนับสนุนให้มีนโยบายสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตั้งแต่ได้รับเลือกเป็นผู้ว่าการนครนิวยอร์กในระดับประเทศ บลูมเบอร์กได้ผลักดันให้เปลี่ยนการใช้พลังงานในสหรัฐจากเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ให้เป็นพลังงานสะอาดในเดือนกรกฎาคม 2554 บลูมเบอร์กบริจาคทรัพย์มูลค่า 50 ล้านเหรียญสหรัฐ (1,625 ล้านบาท) ผ่านองค์กร Bloomberg Philanthropies ให้แก่การรณรงค์ Beyond Coal (ถัดจากถ่านหิน) ขององค์กรอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม Sierra Club ซึ่งทำให้สามารถขยายความพยายามเพื่อปิดโรงผลิตไฟฟ้าถ่านหินในรัฐ 15 รัฐเพิ่มขึ้นเป็น 45 รัฐ[4][5]วันที่ 8 เมษายน 2558 เพื่อต่อยอดความสำเร็จของโครงการรณรงค์นี้ บลูมเบอร์กประกาศการให้ทรัพย์เพิ่มอีก 30 ล้านเหรียญสหรัฐ (975 ล้านบาท) โดยเพิ่มให้คู่กับการบริจาคของผู้อื่นเป็นจำนวนเท่ากัน (รวม 60 ล้าน) เพื่อให้สามารถรีไทร์โรงไฟฟ้าถ่านหินครึ่งหนึ่งในประเทศโดยปี 2560[6]

บลูมเบอร์กได้บริจาคทรัพย์ 6 ล้านเหรียญสหรัฐ (195 ล้านบาท) ผ่าน Bloomberg Philanthropies ให้แก่องค์กรสนับสนุนให้อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม Environmental Defense Fund เพื่อสนับสนุนกฎหมายที่เข้มงวดเพื่อควบคุมเทคนิคการเพิ่มผลผลิตบ่อน้ำมัน/แก๊สธรรมชาติคือ Hydraulic fracturing ในรัฐ 14 รัฐที่ผลิตแก๊สธรรมชาติมากที่สุด[7]

ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2556 บลูมเบอร์กและองค์กรการกุศลของเขาคือ Bloomberg Philanthropies ได้ตั้งโครงการริเริ่มธุรกิจเสี่ยงกับอดีตเลขาธิการกระทรวงการคลัง Henry Paulson และอภิมหาเศรษฐีอีกท่านคือ Tom Steyerเพื่อชักจูงชุมชนนักธุรกิจว่า จำเป็นต้องมีพลังงานที่ยั่งยืนและนโยบายการพัฒนาพลังงาน โดยระบุตัวเลขและเผยแพร่ความเสี่ยงทางเศรษฐกิจต่อสหรัฐเนื่องจากผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ[8]ในเดือนมกราคม 2558 บลูมเบอร์กได้นำ Bloomberg Philanthropies เพื่อร่วมมือในโครงการ 48 ล้านเหรียญสหรัฐ (1,560 ล้านบาท) ร่วมกับตระกูล Heising-Simons เพื่อจัดตั้งโครงการริเริ่มพลังงานสะอาด (Clean Energy Initiative)ซึ่งสนับสนุนการแก้ปัญหาระดับรัฐโดยมุ่งหมายให้อเมริกามีระบบพลังงานที่สะอาด ไว้ใจได้ และยอมรับราคาได้[9]

ตั้งแต่ปี 2553 บลูมเบอร์กได้มีบทบาทเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในระดับโลกเพิ่มขึ้นในระหว่างปี 2553-2556 เขาทำหน้าที่เป็นประธานกลุ่ม C40 Cities Climate Leadership Group (ตัวย่อ C40) ซึ่งเป็นเครือข่ายของนครที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่ทำงานร่วมกันเพื่อลดการปล่อยคาร์บอน[10]ในสมัยของประธานาธิบดีบิล คลินตัน บลูมเบอร์ได้ทำงานเพื่อรวมกลุ่ม C40 เข้ากับโครงการของรัฐคือ Clinton Climate Initiative โดยมีจุดมุ่งหมายเพิ่มกำลังของโครงการทั้งสองในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั่วโลก[11]เขาทำหน้าที่เป็นประธานกรรมการของโครงการ C40[12]

ในเดือนมกราคม 2557 บลูมเบอร์กเริ่มพันธสัญญาเป็นระยะ 5 ปีเพื่อให้ทรัพย์จำนวน 53 ล้านเหรียญสหรัฐ (1,723 ล้านบาท) แก่โครงการ Vibrant Oceans Initiativeซึ่งเป็นการจับมือระหว่างองค์กร Bloomberg Philanthropies, Oceana, Rare, และ Encourage Capital เพื่อสนับสนุนให้ปฏิรูปการจับสัตว์น้ำและเพิ่มประชากรสัตว์อย่างยั่งยืนทั่วโลก[13]

วันที่ 31 มกราคม 2557 เลขาธิการสหประชาชาติ พัน กี-มุน ได้แต่งตั้งบลูมเบอร์กเป็นผู้แทนพิเศษเพื่อการเปลี่ยนแปลงเมืองและภูมิอากาศ (Special Envoy for Cities and Climate Change) เพื่อช่วยสหประชาชาติในการทำงานร่วมกับเมืองต่าง ๆ เพื่อป้องกันการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ[14]ในเดือนกันยายน 2557 บลูมเบอร์กได้มาประชุมร่วมกับเลขาธิการและผู้นำโลกอื่น ๆ ที่ "ประชุมสุดยอดสหประชาชาติเกี่ยวกับภูมิอากาศ" (UN Climate Summit) เพื่อประกาศการกระทำที่ชัดเจนเพื่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศในปี 2558[15]

เมื่อปลายปี 2557 บลูมเบอร์ก พันกี-มุน และเครือข่ายเมืองทั่วโลกรวมทั้ง ICLEI-Local Governments for Sustainability (ICLEI), C40 Cities Climate Leadership Group (C40), และ United Cities and Local Governments (UCLG) โดยได้การสนับสนุนจาก UN-Habitat ได้เริ่มโครงการ Compact of Mayors ซึ่งเป็นการร่วมมือกันระหว่างผู้ว่า/นายกเทศมนตรีและเจ้าหน้าที่เทศบาลอื่น ๆ โดยสัญญาว่าจะลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกจากเมือง เพิ่มมาตรการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และติดตามผลอย่างโปร่งใส[16]จนถึงปลายปี 2558 มีเมืองกว่า 250 เมืองโดยมีประชากรรวม 300 ล้านคนเป็นอัตรา 4.1% ของคนทั่วโลก ได้สัญญาทำตามเป้าหมายขององค์กร[17]ซึ่งต่อมารวมเข้ากับโครงการ Covenant of Mayors ในเดือนมิถุนายน 2559[18][19]

วันที่ 30 มิถุนายน 2558 บลูมเบอร์กและผู้ว่านครปารีสได้ประกาศร่วมกันเรื่องการจัดประชุมสุดยอดสำหรับผู้นำท้องถิ่น ซึ่งทำเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2558[20]โดยมีผู้นำเทศบาลเป็นร้อย ๆ ท่านทั่วโลกมาประชุมกันที่ศาลาเทศบาลนครปารีส[21][22]ซึ่งเป็นประชุมใหญ่ที่สุดที่เคยมีของผู้นำท้องถิ่นเพื่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ[23]ประชุมได้จบลงด้วยการเสนอปฏิญญาปารีส (Paris Declaration) ซึ่งเป็นสัญญาจากผู้นำที่มาประชุมเพื่อลดการปล่อยคาร์บอนแต่ละปีโดย 3,700 ล้านตันภายในปี 2573[24]

ระหว่างการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2558 ในนครปารีส ผู้ว่าการธนาคารแห่งชาติอังกฤษได้ประกาศว่า บลูมเบอร์กจะเป็นหัวหน้าคณะทำงานเฉพาะกิจสากล ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยอุตสาหกรรมและตลาดการเงิน ให้เข้าใจความเสี่ยงของการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ[25]

บลูมเบอร์กและอดีตกรรมการบริหารของ Sierra Club ผู้หนึ่ง ได้ร่วมเขียนหนังสือเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศชื่อว่า "Climate of Hope: How Cities, Businesses, and Citizens Can Save the Planet (ภูมิอากาศแห่งความหวัง - เมือง ธุรกิจ และประชาชนจะสามารถช่วยชีวิตโลกได้อย่างไร)"[26][27]ซึ่งวางตลาดเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2560 และได้ปรากฏบนรายการหนังสือปกแข็งขายดีที่สุดของเดอะนิวยอร์กไทมส์[28]

หลังจากการประกาศว่า รัฐบาลสหรัฐจะถอนตัวจากความตกลงปารีสบลูมเบอร์กก็ได้ประกาศว่า เมือง รัฐ มหาวิทยาลัย และธุรกิจต่าง ๆ ได้ร่วมใจกันทำตามข้อตกลงของอเมริกาในความตกลงปารีสโดยผ่านโครงการ America's Pledge (สัญญาของอเมริกา)[29]และโดยผ่านองค์กร Bloomberg Philanthropies เขาจะให้ "ถึง 15 ล้านเหรียญสหรัฐ (487.5 ล้านบาท) เพื่อสนับสนุนองค์กรของสหประชาชาติที่ช่วยประเทศต่าง ๆ ดำเนินการตามความตกลง"[30][31]

ต่อจากนั้นอีกหนึ่งเดือน บลูมเบอร์กและผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนียได้ประกาศว่า ผู้ร่วมโครงการ America's Pledge จะทำงาน "เพื่อกำหนดเป้าหมายโดยจำนวนซึ่งการดำเนินการของรัฐ เมือง และธุรกิจในสหรัฐ เพื่อลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจก ให้สมควรกับเป้าหมายของความตกลงปารีส"[32][33]เมื่อประกาศโครงการริเริ่มนี้ บลูมเบอร์กได้กล่าวไว้ว่า "รัฐบาลสหรัฐอาจจะถอนตัวจากความตกลงปารีส แต่ชนอเมริกันยังยืนหยัดเพื่อมัน"[34]

องค์กร Think tank สององค์กร คือ World Resources Institute และ Rocky Mountain Institute จะทำงานร่วมกับ America's Pledge เพื่อวิเคราะห์การดำเนินการของเมือง รัฐ และธุรกิจเพื่อให้ถึงเป้าหมายสัญญาของสหรัฐต่อความตกลงปารีส[35]

การสร้างและพัฒนาผู้นำ

ในวันที่ 25 สิงหาคม 2559 Bloomberg Philanthropies และมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้ประกาศการจัดตั้งโครงการริเริ่ม Bloomberg Harvard City Leadership Initiative[36]โดยได้เงินทุน 32 ล้านเหรียญสหรัฐ (1,040 ล้านบาท) จากบลูมเบอร์ก โครงการจะจัดประชุมนายกเทศมนตรีถึง 300 ท่านบวกกับเจ้าหน้าที่เทศบาลอีก 400 คนทั่วโลกในอีก 4 ปีข้างหน้า เป็นโปรแกรมฝึกผู้บริหารโดยเล็งเพิ่มประสิทธิผลของการบริหารรัฐกิจและการสร้างนวัตกรรมการปกครองในระดับเมือง[37]

บลูมเบอร์กได้เป็นเจ้าภาพจัดประชุมธุรกิจโลกในวันที่ 20 กันยายน 2560ซึ่งจัดในระหว่างการประชุมประจำปีของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ และมีองค์ประชุมทั้งเป็นประธานกรรมการบริษัทข้ามชาติและประมุขของประเทศต่าง ๆ[38]งานประชุม "จัดในที่พิเศษซึ่งงานประชุมประจำปี Clinton Global Initiative เคยจัด" โดยอดีตประธานาธิบดีสหรัฐ บิล คลินตัน ได้เป็นผู้ให้ปาฐกถาเป็นบุคคลแรก[39][40]จุดประสงค์ของงานนี้ก็เพื่อปรึกษาเรื่อง "โอกาสเพื่อพัฒนาการค้าและเศรษฐกิจ และปัญหาทางสังคมที่เกี่ยวข้องกัน..."[40]นอกจากคลินตันและบลูมเบอร์ก วิทยากรท่านอื่น ๆ รวมทั้งผู้ร่วมจัดตั้งไมโครซอฟท์และนักการกุศลบิล เกตส์ ประธานบริหารบริษัทแอปเปิลทิม คุก ผู้ว่าการธนาคารโลก Jim Yong Kim ผู้ว่าการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ คริสตีน ลาการ์ด นายกรัฐมนตรีแคนาดา จัสติน ทรูโด และประธานาธิบดีฝรั่งเศส แอมานุแอล มาครง[41][38]

การอื่น ๆ

ตามโพรไฟล์ของบลูมเบอร์กในนิตยสาร Fast Company มูลนิธิการกุศลของเขาคือ Bloomberg Philanthropies เพ่งความสนใจในเรื่อง 5 เรื่อง คือ สาธารณสุข ศิลปะ นวัตกรรมการปกครอง สิ่งแวดล้อม และการศึกษา[42]ส่วนตามนิตยสารองค์กรไม่หวังผลกำไร Chronicle of Philanthropy บลูมเบอร์กเป็นนักการกุศลที่ให้มากที่สุดเป็นอันดับสามของอเมริกาในปี 2558[43]ผ่านมูลนิธิของเขา เขาได้บริจาคหรือสัญญาว่าจะบริจาค 240 ล้านเหรียญสหรัฐปี 2548, 60 ล้านปี 2549, 47 ล้านปี 2550, 150 ล้านปี 2551, 332 ล้านปี 2552, 311 ล้านปี 2553, และ 510 ล้านปี 2554 (รวม 1,650 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 53,625 ล้านบาท)[43][44]

ผู้รับบริจาคปี 2554 รวม Campaign for Tobacco-Free Kids (การรณรงค์เพื่อเยาวชนไร้บุหรี่)Centers for Disease Control and Prevention (ศูนย์เพื่อควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐ)Johns Hopkins Bloomberg School of Public Health (คณะสาธารณสุขบลูมเบอร์กแห่งมหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์)มูลนิธิปอดโลก (World Lung Foundation) และองค์การอนามัยโลก

ในปี 2556 มีรายงายว่า บลูมเบอร์กได้บริจาค 109.24 ล้านเหรียญสหรัฐ (3,550 ล้านบาท) เพื่อรณรงค์ต่อต้านการสูบบุหรี่ในประเทศ 61 ประเทศ[45]ตามหนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทมส์ บลูมเบอร์กเป็นผู้บริจาคนิรนามคนหนึ่งต่อองค์กรเผยแพร่ความรู้ Carnegie Corporation ในระหว่างปี 2544-2553 ด้วยเงินบริจาคระหว่าง 5-20 ล้านเหรียญต่อปี (162.5-650 ล้านบาท)[46]ส่วน Carnegie Corporation เองก็ได้บริจาคเงินทุนเหล่านี้ไปยังองค์กรในนครนิวยอร์กเป็นร้อย ๆ ตั้งแต่โรงบัลเลต์แห่งฮาเร็ม (Dance Theatre of Harlem) จนถึง Gilda's Club ซึ่งเป็นองค์กรไม่หวังผลกำไรที่ให้การสนับสนุนแก่คนไข้มะเร็งและครอบครัวเขายังสนับสนุนงานศิลป์ผ่านมูลนิธิของเขาด้วย[47]

ในปี 2539 บลูเบอร์กได้มอบทุนแก่โปรแกรม William Henry Bloomberg Professorship ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเป็นจำนวน 3 ล้านเหรียญสหรัฐ (97.5 ล้านบาท) เพื่อยกย่องบิดาของตนผู้เสียชีวิตในปี 2506 โดยกล่าวว่า "ชั่วชีวิตของเขา เขาเข้าใจถึงความสำคัญในการเอื้อมมือช่วยเหลือองค์กรไม่หวังผลกำไร เพื่อช่วยปรับปรุงสวัสดิภาพของทุก ๆ คน"[48]บลูมเบอร์กยังให้ทุนแก่ธรรมศาลาชาวยิวในเมืองที่อยู่ของเขาคือ Temple Shalom ซึ่งได้เปลี่ยนชื่อให้เกียรติแก่บิดามารดาของเขาคือ William and Charlotte Bloomberg Jewish Community Center of Medford[49]

บลูมเบอร์กรายงานการบริจาค 254 ล้านเหรียญสหรัฐ (8,255 ล้านบาท) ในปี 2552 แก่องค์กรไม่หวังผลกำไรเกือบ 1,400 องค์กรโดยกล่าวว่า "ผมเป็นคนศรัทธาอย่างยิ่งในเรื่องการบริจาคทรัพย์ทั้งหมด และได้กล่าวมาอย่างเสมอ ๆ ว่า การวางแผนทางการเงินที่ดีสุดก็คือการจบลงด้วยการปล่อยให้เช็คเด้งสำหรับสัปเหร่อ"[50]โดยปี 2557 เขาได้บริจาคเงินกว่า 1,800 ล้านเหรียญสหรัฐ (58,500 ล้านบาท) แก่องค์กรการกุศล 850 องค์กร[51]

ในเดือนกรกฎาคม 2554 บลูมเบอร์กบริจาคทรัพย์ 24 ล้านเหรียญสหรัฐ (780 ล้านบาท) สำหรับโครงการริเริ่ม Innovation Delivery Teams (ทีมส่งมอบนวัตกรรม)โดยเป็นส่วนของจุดประสงค์หลักขององค์กร Bloomberg Philanthropies ซึ่งก็คือ พัฒนาสร้างนวัตกรรมในการปกครองของรัฐบาล[52]

ในเดือนธันวาคม 2554 Bloomberg Philanthropies เริ่มการร่วมมือกับเสิร์ชเอนจินสำหรับตั๋วออนไลน์คือ SeatGeek เพื่อหาผู้ชมใหม่ ๆ ให้แก่ศิลปินโดยเรียกโครงการว่า Discover New York Arts ซึ่งรวมองค์ต่าง ๆ เช่น HERE, New York Theatre Workshop, และ Kaufman Center[53]ในสมัยสุดท้ายที่เป็นผู้ว่าการนครนิวยอร์ก บลูมเบิร์กได้ตั้งงบประมาณของนครอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อ The Shed ซึ่งเป็นศูนย์ศิลปะใหม่ที่วางแผนว่าจะสร้างทางทิศตะวันตกปลายเขตของแมนฮัตตันที่ Hudson Yards[54]เมื่อสิ้นสมัยแล้ว เขาก็ยังสนับสนุนโครงการนี้ต่อไปด้วยการบริจาคทรัพย์มูลค่า 75 ล้านเหรียญสหรัฐ (2,438 ล้านบาท)[55]ศูนย์ "จะมีการแสดง คอนเสิร์ต ทัศนศิลป์ ดนตรี และกิจกรรมอื่น ๆ"[56]

ในวันที่ 22 มีนาคม 2555 บลูมเบอร์กได้ประกาศว่ามูลนิธิของเขาสัญญาว่าจะบริจาค 220 ล้านเหรียญสหรัฐ (7,150 ล้านบาท) ในช่วงเวลาอีก 4 ปีเพื่อต่อต้านการสูบบุหรี่ทั่วโลก[57]

บลูมเบอร์กได้บริจาคทรัพย์ 200 ล้านเหรียญสหรัฐ (6,500 ล้านบาท) เพื่อสร้างอาคารต่าง ๆ ที่โรงพยาบาลจอนส์ฮอปกินส์ ซึ่งเป็น รพ. สอนแพทย์และเป็นศูนย์วิจัยชีวเวช ของคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยจอนส์ออปกิสน์ อาคารรวมทั้งศูนย์เด็ก Charlotte R. Bloomberg Children's Center[51]ในเดือนมกราคม 2556 มหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์ได้ประกาศว่า ด้วยการบริจาคอีก 350 ล้านเหรียญสหรัฐ (11,375 ล้านบาท) เงินบริจาคที่บลูมเบอร์กมอบให้ในฐานะศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยได้เกิน 1,100 ล้านเหรียญสหรัฐ (35,750 ล้านบาท) แล้วเขาเริ่มบริจาคให้มหาวิทยาลัยเป็นครั้งแรกเมื่อ 48 ปีก่อนเป็นจำนวน 5 เหรียญ[58]ทรัพย์ 5 ส่วนใน 7 ส่วนของ 350 ล้านเหรียญจะลงให้แก่โปรแกรม Bloomberg Distinguished Professorships โดยเป็นเงินทุนสำหรับศาสตราจารย์ดีเด่น 50 ท่าน ที่ชำนาญพิเศษข้ามหลายสาขาวิชา[59]

ในเดือนกันยายน 2559 ในงานครบร้อยปีของคณะสาธารสุขของมหาวิทยาลัย Bloomberg Philanthropies ได้มอบทรัพย์ 300 ล้านเหรียญสหรัฐ (9,750 ล้านบาท) เพื่อตั้งโครงการ Bloomberg American Health Initiative รวมการบริจาคให้แก่มหาวิทยาลัยทั้งหมดเป็น 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐ (48,750 ล้านบาท)[60]ในวันที่ 29 มีนาคม 2559 บลูมเบอร์กร่วมกับรองประธานาธิบดีสหรัฐ ณ มหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์ได้ประกาศสร้าง Bloomberg-Kimmel Institute for Cancer Immunotherapy สำหรับคณะแพทย์ในบอลทิมอร์ด้านตะวันออก[61][62]ซึ่งเริ่มต้นด้วยการบริจาค 50 ล้านเหรียญ (1,625 ล้านบาท) จากบลูมเบอร์ก 50 ล้านเหรียญจากนักการกุศล Sidney Kimmel และ 25 ล้านเหรียญจากผู้บริจาคอื่น ๆ[63]ให้เพื่อเป็นศูนย์วิจัยการบำบัดมะเร็ง เพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ และเพื่อการร่วมมือกันระหว่างองค์กรเอกชนต่าง ๆ[64]สถาบันนี้มีจุดประสงค์เหมือนกับโครงการของรองประธานาธิบดีซึ่งก็คือการหาวิธีรักษามะเร็งผ่านการร่วมมือกันระหว่างองค์กรต่าง ๆ ของทั้งรัฐบาลและเอกชน[61]

บลูมเบอร์กเป็นเป็นผู้ก่อตั้งโครงการ Everytown for Gun Safety (เมืองทุกเมืองเพื่อความปลอดภัยจากปืน) ซึ่งเป็นกลุ่มที่สนับสนุนให้ควบคุมอาวุธปืน

ในวันที่ 17 สิงหาคม 2559 องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้แต่งตั้งบลูมเบอร์กให้เป็นทูตโลกในเรื่องโรคไม่ติดต่อ (Global Ambassador for Noncommunicable Diseases)[65]ในบทบาทนี้ บลูมเบอร์กจะระดมกำลังของทั้งฝ่ายเอกชนและผู้นำทางการเมืองเพื่อช่วย WHO ลดจำนวนผู้เสียชีวิตเนื่องจากโรคที่ป้องกันได้ อุบัติเหตุรถยนต์ การสูบบุหรี่ โรคอ้วน และการดื่มเหล้าเมื่อประกาศการแต่งตั้งเขา ผู้อำนวยการของ WHO ได้อ้างการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องของบลูมเบอร์กเพื่อโครงการต่อต้านการสูบบุหรี่ขององค์กร เพื่อป้องกันการจมน้ำ และเพื่อโปรแกรมความปลอดภัยในถนน[66][67]

ในพิธีที่จัดในวันที่ 18 ตุลาคม 2559 พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์บอสตันได้ประกาศการได้รับบริจาค 50 ล้านเหรียญ (1,625 ล้านบาท) จากบลูมเบอร์ก[68]โดยเป็นการบริจาคครั้งที่ 4 ให้กับพิพิธภัณฑ์ ซึ่งบลูมเบอร์กได้ยกย่องว่าช่วยสร้างความคิดจินตนาการเมื่อครั้งเป็นนักเรียนเมื่อเขาได้มาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์[69]ทุนนี้จะสนับสนุนแผนกให้การศึกษาและเปลี่ยนชื่ออาคารเป็น William and Charlotte Bloomberg Science Education Center เพื่อยกย่องบิดามารดาของเขาโดยเป็นเงินบริจาคมากที่สุดในประวัติ 186 ปีของพิพิธภัณฑ์[70]

ในวันที่ 5 ธันวาคม 2559 Bloomberg Philanthropies ได้กลายเป็นผู้บริจาคเพื่อการต่อต้านการสูบบุหรี่มากที่สุดในประเทศกำลังพัฒนาองค์กรได้ประกาศว่าจะให้ทรัพย์อีก 360 ล้านเหรียญ (11,700 ล้านเหรียญ) นอกเหนือจากที่ตั้งใจไว้ก่อนแล้ว โดยรวมเป็นทรัพย์ที่บริจาคหรือตั้งใจบริจาคทั้งหมด 1,000 ล้านเหรียญ (32,500 ล้านบาท)เงินก้อนใหม่นี้จะช่วยขยายงานที่มีอยู่แล้ว เช่น ชักนำให้ประเทศต่าง ๆ ตรวจตราการสูบบุหรี่ ออกกฎหมายที่เข้มงวดเพื่อควบคุม และรณรงค์ทางสื่อมวลชนเพื่อให้การศึกษาแก่สาธารชนเกี่ยวกับอัตรายของ บุหรี่เป็นโปรแกรมที่ทำในประเทศ 110 ประเทศ รวมทั้งจีน อินเดีย อินโดนีเซีย บังกลาเทศ[71]และประเทศไทย[72]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ไมเคิล บลูมเบอร์ก http://www.amny.com/news/michael-bloomberg-named-g... http://www.britannica.com/eb/article-9438078/Bloom... http://www.businessinsider.com/americas-pledge-jer... http://investing.businessweek.com/businessweek/res... http://cities-today.com/interview-michael-bloomber... http://www.citymayors.com/mayors/new_york_mayor.ht... http://www.commercialappeal.com/news/2012/jan/06/m... http://www.crainsnewyork.com/article/20170525/ARTS... http://www.csmonitor.com/USA/Politics/2016/0825/32... http://www.ecowatch.com/7-100-cities-from-119-coun...